วิหารหลวง วัดไหล่หิน
ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 167
ซุ้มโขง และวิหารหลวง อยู่ในแนวแกนเดียวกัน
ที่มา : คุณฐาปกรณ์ เครือระยา
รายละเอียด
วัดไหล่หินมีชื่อเรียกอีกชื่อ คือ วัดไหล่หินแก้วช้างยืน หรือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม ปรากฏจารึกใบลาน พ.ศ.2093 เรื่อง อัฏฐนิบาตชาดก ร่องรอยที่ปรากฏวิหารนี้คงได้รับการบูรณะซ่อมแซมตลอดมา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
ตราบจน พ.ศ.2459 เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ได้เป็นประธานสร้างพระอุโบสถแห่งนี้ขึ้น น่าจะได้บูรณะวิหารนี้ด้วย พบร่องรอยการเปลี่ยนช่อฟ้า ป้านลม ใบระกา หางหงส์ ในลักษณะแบบภาคกลาง รวมทั้งกระเบื้องมุงหลังคา ที่เป็นกระเบื้องซีเมนต์ดังปรากฏมาจนทุกวันนี้
วิหารนี้ตั้งในตำแหน่งสำคัญ ในแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก พบซุ้มประตูโขง วิหารหลวง เจดีย์ ตามลำดับ อาคารทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยศาลาบาตร(ภาคกลางเรียกว่า ระเบียงคด)
เป็นวิหารโถงขนาดเล็ก จำนวน 5 ห้อง ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จออกทางด้านหน้า 1ช่วง ด้านหลังตัดตรง มีผนังปิดทึบเฉพาะช่วงห้องท้ายวิหาร ผนังด้านหลังวิหารเป็นผนังปูนทึบ
เป็นที่น่าสังเกตว่าแผนผังของวิหารวัดไหล่หินจะไม่เหมือนกับวิหารที่ปรากฏในพื้นที่เชียงใหม่ และลำปางโดยทั่วไป แต่จะคล้ายกับวิหารร้างที่พบมากในเขตเมืองเชียงแสน ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของวัดที่มีเกี่ยวข้องกับเมืองเชียงตุง อันเป็นกลุ่มบ้านเมืองเดียวกับ เชียงแสน
ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 164-165
ตราบจน พ.ศ.2459 เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ได้เป็นประธานสร้างพระอุโบสถแห่งนี้ขึ้น น่าจะได้บูรณะวิหารนี้ด้วย พบร่องรอยการเปลี่ยนช่อฟ้า ป้านลม ใบระกา หางหงส์ ในลักษณะแบบภาคกลาง รวมทั้งกระเบื้องมุงหลังคา ที่เป็นกระเบื้องซีเมนต์ดังปรากฏมาจนทุกวันนี้
วิหารนี้ตั้งในตำแหน่งสำคัญ ในแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก พบซุ้มประตูโขง วิหารหลวง เจดีย์ ตามลำดับ อาคารทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยศาลาบาตร(ภาคกลางเรียกว่า ระเบียงคด)
เป็นวิหารโถงขนาดเล็ก จำนวน 5 ห้อง ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จออกทางด้านหน้า 1ช่วง ด้านหลังตัดตรง มีผนังปิดทึบเฉพาะช่วงห้องท้ายวิหาร ผนังด้านหลังวิหารเป็นผนังปูนทึบ
เป็นที่น่าสังเกตว่าแผนผังของวิหารวัดไหล่หินจะไม่เหมือนกับวิหารที่ปรากฏในพื้นที่เชียงใหม่ และลำปางโดยทั่วไป แต่จะคล้ายกับวิหารร้างที่พบมากในเขตเมืองเชียงแสน ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของวัดที่มีเกี่ยวข้องกับเมืองเชียงตุง อันเป็นกลุ่มบ้านเมืองเดียวกับ เชียงแสน
ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 164-165
No comments:
Post a Comment