วิหารจามเทวี วัดปงยางคก ก่อนบูรณะเมื่อพ.ศ.2539
[ที่มา : สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2544, หน้า 73]
วิหารจามเทวี หลังจากบูรณะแล้ว
รูปแบบของวิหารจามเทวี วัดปงยางคก
[ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 146 ]
รายละเอียด
เป็นตำนานและเรื่องราวที่เชื่อกันว่า วัดนี้สร้างมาครั้งสมัยพระนางจามเทวีแห่งหริภุญชัยเสด็จมาเยี่ยมเจ้าอนันตยศ ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 13 และมีการพบปาฏิหาริย์ของพระบรมสารีริกธาตุที่จอมปลวก พระนางเห็นดังนั้นจึงปลูกวิหารจามเทวี ครอบจอมปลวกด้วยมณฑปปราสาท ทั้งยังเกี่ยวข้องกับหนานทิพย์ช้าง ในพุทธศตวรรษที่ 23 เนื่องจากหนานทิพย์ช้างเดิมมีพื้นเพอยู่ที่บ้านปงยางคก
และเห็นว่าวิหารหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นราวพ.ศ.2275-2302 ที่หนานทิพย์ช้างครองเมืองนครลำปาง วิหารนี้เป็นวิหารหลวง หันหน้าออกทางทิศตะวันออก อยู่แนวแกนประธานของวัด เป็นวิหารโถงเครื่องไม้
มีขนาดกว้าง 3 ห้อง ยาว 5 ห้อง (กว้าง 7.50 เมตร ยาว 15.20 เมตร สูง 8.50 เมตร) ทำผังพื้นแบบย่อเก็จ วิหานี้มีการทำฝาผนังเพียงครึ่งเดียว ยกเว้นห้องท้ายวิหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของมณฑป หรือโขงพระเจ้าขนาดใหญ่ ในพ.ศ.2508 มีการก่อฝาผนังทิศใต้ในห้องที่ 3 และห้องที่ 4 เพื่อกันฝนสาดเข้ามาในวิหาร มีการบูรณะครั้งล่าสุดเมื่อพ.ศ.2539 โดย บริษัท มรดกโลก
ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 143-145
รูปแบบของวิหารจามเทวี วัดปงยางคก
[ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 146 ]
รายละเอียด
เป็นตำนานและเรื่องราวที่เชื่อกันว่า วัดนี้สร้างมาครั้งสมัยพระนางจามเทวีแห่งหริภุญชัยเสด็จมาเยี่ยมเจ้าอนันตยศ ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 13 และมีการพบปาฏิหาริย์ของพระบรมสารีริกธาตุที่จอมปลวก พระนางเห็นดังนั้นจึงปลูกวิหารจามเทวี ครอบจอมปลวกด้วยมณฑปปราสาท ทั้งยังเกี่ยวข้องกับหนานทิพย์ช้าง ในพุทธศตวรรษที่ 23 เนื่องจากหนานทิพย์ช้างเดิมมีพื้นเพอยู่ที่บ้านปงยางคก
และเห็นว่าวิหารหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นราวพ.ศ.2275-2302 ที่หนานทิพย์ช้างครองเมืองนครลำปาง วิหารนี้เป็นวิหารหลวง หันหน้าออกทางทิศตะวันออก อยู่แนวแกนประธานของวัด เป็นวิหารโถงเครื่องไม้
มีขนาดกว้าง 3 ห้อง ยาว 5 ห้อง (กว้าง 7.50 เมตร ยาว 15.20 เมตร สูง 8.50 เมตร) ทำผังพื้นแบบย่อเก็จ วิหานี้มีการทำฝาผนังเพียงครึ่งเดียว ยกเว้นห้องท้ายวิหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของมณฑป หรือโขงพระเจ้าขนาดใหญ่ ในพ.ศ.2508 มีการก่อฝาผนังทิศใต้ในห้องที่ 3 และห้องที่ 4 เพื่อกันฝนสาดเข้ามาในวิหาร มีการบูรณะครั้งล่าสุดเมื่อพ.ศ.2539 โดย บริษัท มรดกโลก
ที่มา : วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 143-145
No comments:
Post a Comment