Tuesday, January 2, 2007

0031 วัดจองคำ ต.พระบาท อ.เมือง ลำปาง


เจดีย์ วัดจองคำ

0030 วัดท่ามะโอ ต.เวียงเหนือ อ.เมือง ลำปาง


วิหาร วัดท่ามะโอ

อุโบสถ วัดท่ามะโอ

เจดีย์ วัดท่ามะโอ

0029 วัดป่ารวก ต.หัวเวียง อ.เมือง ลำปาง


วัดป่ารวกในอดีต ถ่ายบริเวณสะพานข้ามห้วยแม่กระติ๊บ
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]


จอง หรือเจาง์ วัดป่ารวก


เจดีย์ วัดป่ารวกก่อนซ่อมแซม
[ที่มา : อาจารย์สมคิด อินต๊ะพรม]

เจดีย์ วัดป่ารวก กำลังบูรณะ

0028 วัดจองคา(ชัยมงคล) ต.หัวเวียง อ.เมือง ลำปาง


ด้านหน้าจอง หรือเจาง์วัดจองคา


ด้านหลังจอง หรือเจาง์วัดจองคา


เจดีย์วัดจองคา

0027 วัดป่าฝาง(วัดสาสนโชติการาม) ต.หัวเวียง อ.เมือง ลำปาง


จอง หรือเจาง์ วัดป่าฝาง

อุโบสถวัดป่าฝาง

เจดีย์วัดป่าฝาง
[ที่มา : อาจารย์สมคิด อินต๊ะพรม]

0026 วัดม่อนปู่ยักษ์ ต.พระบาท อ.เมือง ลำปาง


จองหรือเจาง์


อาคารทรงยุโรป(แบบอาณานิคม) ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่น่าสนใจ น่าจะทำหน้าที่เป็นวิหาร

เจดีย์วัดม่อนปู่ยักษ์ อาคารทรงยุโรป(แบบอาณานิคม) น่าจะเป็นอุโบสถ


ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดม่อนปู่ยักษ์

0025 วัดม่อนจำศีล ต.พระบาท อ.เมือง ลำปาง


จองหรือเจาง์ วัดม่อนจำศีล ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ชำรุดเสียหาย เสี่ยงต่อการพังทลาย

จองหรือเจาง์อีกมุมหนึ่ง


เจดีย์วัดม่อนจำศีล


เจดีย์อีกองค์หนึ่ง


ซุ้มประตูทางขึ้น

0024 วัดศรีรองเมือง(วัดท่าคราวน้อยพม่า) ถ.ท่าคราวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง ลำปาง


จองหรือเจาง์ วัดศรีรองเมืองในอดีต ยกใต้ถุนสูงเปิดโล่ง
[ที่มา : วัดศรีรองเมือง อ.เมือง ลำปาง]


จองหรือเจาง์ วัดศรีรองเมืองในอดีต ยกใต้ถุนสูงเปิดโล่ง
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]


จองหรือเจาง์ วัดศรีรองเมือง สมัยที่หลังคาเป็นสีขาว
[ที่มา : อาจารย์สมคิด อินต๊ะพรม]


จองหรือเจาง์ วัดศรีรองเมือง ปัจจุบัน หลังคาเป็นสีแดง


อุโบสถ วัดศรีรองเมือง


เจดีย์ วัดศรีรองเมือง


ส้วม?


ตุ๊กตาประดับเหนือบ่อน้ำ หน้าจอง

0023 วัดศรีชุม ต.สวนดอก อ.เมือง ลำปาง


วัดศรีชุมและบริเวณโดยรอบ เมื่อครั้งยังเป็นทุ่งนา
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]


จองหรือเจาง์วัดศรีชุมสภาพเดิม ก่อนถูกไฟไหม้
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]


จองหรือเจาง์วัดศรีชุมสภาพเดิม หลังถูกไฟไหม้ไม่นาน
[ที่มา : อาจารย์สมพงษ์ ตันติกุลวรชัย]


จองหรือเจาง์วัดศรีชุมสภาพปัจจุบัน บูรณะหลังถูกไฟไหม้


อุโบสถวัดศรีชุม และเจดีย์วัดศรีชุม
[ที่มา : อาจารย์สมคิด อินต๊ะพรม]


เจดีย์วัดศรีชุม

0022 วัดเกาะวาลุการาม ต.สวนดอก อ.เมือง ลำปาง


ภาพเก่าวัดเกาะวาลุการาม จะเห็นบรรยากาศที่มีเรือจอดเทียบข้างๆตลิ่งวัด
[ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ]


อุโบสถ วัดเกาะวาลุการามลักษณะแบบไทยภาคกลาง แต่ใช้ช่างพม่า ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือ ครูปวน สุวรรณสิงห์(ป.สุวรรณสิงห์)


จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ ลีลาการเขียนจิตรกรรมแบบไทยภาคกลาง เล่าเรื่องประวัติวัดเกาะฯตอนไฟไหม้วัด จะสังเกตเห็นรายละเอียดที่น่าสนใจในยุคนั้นเช่น ขัวแตะ(สะพานไม้ไผ่ขัดแตะ)


เจดีย์วัดเกาะฯ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่า


ศาลาการเปรียญ อาจเรียกได้ว่า เป็นวัดเดียวในลำปางที่มี สถาปัตยกรรมแบบไทยภาคกลางเช่นนี้ ปัจจุบันปิดร้าง ไม่ได้ใช้งานจริงจัง

0021 วัดบุญวาทย์วิหาร ต.หัวเวียง อ.เมือง ลำปาง


มุมมองวัดบุญวาทย์วิหารจากถนนไปรษณีย์

มุมมองจากถนนบุญวาทย์ ภาพถ่ายงานศพ นางบุญเรือน ล่ำใหญ่ พ.ศ.2499
[ที่มา : คุณชาญคณิต อาวรณ์]


มุมมองจากถนนบุญวาทย์ จะเห็นซุ้มประตูโขง เมื่อเปรียบเทียบกับภาพบนจะเป็นศาลาบาตรเดิมจะไม่มีขนาดใหญ่จนบังทัศนวิสัยของวัดบุญวาทย์วิหาร

อุโบสถ วัดบุญวาทย์วิหาร เดิมเป็นวิหาร แล้วถูกแปลงเป็นอุโบสถในภายหลัง มีประวัติว่า เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครงอนครลำปาง ให้รื้อพระวิหารหลวง หอไตร กุฏิ และกำแพงวัดทั้งหมด แล้วให้ หลวงประสานไมตรีราษฎร ผู้เป็นนายช่าง ไปลอกแบบอย่างพระอามหลวงในกรุงเทพฯมาสร้างใหม่


จิตรกรรมฝาผนังตามแบบอย่างกรุงเทพฯ โดย นายจันทร์ จิตรกร

วัดบุญวาทย์วิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็นศูนย์กลางของเมืองในยุคที่สาม สร้างโดย พระยาคำโสม เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ ครั้งหลังสุดคือ สมัยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย

0020 วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ต.เวียงเหนือ อ.เมือง ลำปาง




มณฑปทรงปราสาทรูปแบบพม่าและองค์พระธาตุดอนเต้า ก่อนการบูรณะ
[ที่มา : คุณสมคิด อินต๊ะพรม]



วิหารหลวงวัดพระแก้วดอนเต้า ได้รับการบูรณะโดย "ครูบาศรีวิชัย" มีสัญลักษณ์สำคัญที่ปรากฏคือ ไม้แกะสลักบริเวณหน้าบัน รูปเสือ อันเป็นปีเกิดของครูบาศรีวิชัย(คือ ปีขาล) ขณะที่ รูปนารายณ์ทรงครุฑ เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์สยาม มีนัยหนึ่งถึงการเป็นเมืองภายใต้การปกครองภายใต้รัฐสยาม


ร.7 เสด็จพระราชดำเนินมาฉลองสมโภชวิหารหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า
[ที่มา : ค่ายสุรศักดิ์มนตรี]


วิหารพระนอน ลักษณะการสร้างรูปแบบสถาปัตยกรรมอิทธิพลไทยภาคกลาง ที่ปรากฏชัดก็คือ ช่อฟ้า ใบระกา แต่ยังหลงเหลือ ซุ้มประตูโขง ฝีมือแบบช่างพื้นถิ่นอยู่ด้านหน้า