"ลายต้นศรีมหาโพธิ งานลายคำประดับผนังปูนท้ายวิหาร วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง"
รายละเอียด
ศาสตราจารย์ สุรพล ดำริห์กุล ได้กล่าวไว้ใน "ลายคำล้านนา" ว่า แบบแผนของงานประดับลวดลายภาพต้นศรีมหาโพธิภายในอาคารทางศาสนาล้านนานั้น มีหลักฐานเก่าสุดปรากฏอยู่ที่วิหารน้ำแต้ม ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22
ลักษณะเป็นงานลายคำประดับผนังปูนท้ายวิหารเป็นภาพต้นศรีมหาโพธิ จำนวน 3 ต้น มีกิ่งก้านสาขาอย่างงดงาม ตอนบนเบื้องซ้ายจะมีพระจันทร์(เทพบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางคืน มีเส้นทางโคจรเป็นทักษิณาวรรตรอบเขาพระสุเมรุ) และเบื้องขวาเป็นภาพพระอาทิตย์ (เทพบนวรรค์ชั้นจาตุมหาราช เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางวัน โดยโคจรเป็นทักษิณาวรรตรอบเขาพระสุเมรุ) อันเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล สอดแทรกด้วยภาพนก หรือหงส์บิน และมีเทวดากระทำอัญชลีพร้อมช่อดอกไม้ประกอบอยู่ทั้งสองข้าง
ศาสตราจารย์ สุรพล ดำริห์กุล ได้กล่าวไว้ใน "ลายคำล้านนา" ว่า แบบแผนของงานประดับลวดลายภาพต้นศรีมหาโพธิภายในอาคารทางศาสนาล้านนานั้น มีหลักฐานเก่าสุดปรากฏอยู่ที่วิหารน้ำแต้ม ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22
ลักษณะเป็นงานลายคำประดับผนังปูนท้ายวิหารเป็นภาพต้นศรีมหาโพธิ จำนวน 3 ต้น มีกิ่งก้านสาขาอย่างงดงาม ตอนบนเบื้องซ้ายจะมีพระจันทร์(เทพบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางคืน มีเส้นทางโคจรเป็นทักษิณาวรรตรอบเขาพระสุเมรุ) และเบื้องขวาเป็นภาพพระอาทิตย์ (เทพบนวรรค์ชั้นจาตุมหาราช เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางวัน โดยโคจรเป็นทักษิณาวรรตรอบเขาพระสุเมรุ) อันเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล สอดแทรกด้วยภาพนก หรือหงส์บิน และมีเทวดากระทำอัญชลีพร้อมช่อดอกไม้ประกอบอยู่ทั้งสองข้าง
ที่มาข้อมูล :
สุรพล ดำริห์กุล. ลายคำล้านนา, กรุงเพทฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 365-369
สุรพล ดำริห์กุล. ลายคำล้านนา, กรุงเพทฯ : เมืองโบราณ, 2544, หน้า 365-369
No comments:
Post a Comment